จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพฤหัสบดีที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2562

ต้นรวงผึ้ง พรรณไม้หอมไทยแท้ประจำพระองค์ รัชกาลที่ 10




ต้นรวงผึ้ง
          มาทำความรู้จัก ต้นรวงผึ้ง ต้นไม้ไทยแท้ กลิ่นหอม ต้นไม้ประจำพระองค์ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ 10 กันค่ะ
 
          ต้นรวงผึ้ง ที่มีดอกสีเหลืองโดดเด่นและส่งกลิ่นหอม เป็นพรรณไม้ไทยแท้อันทรงคุณค่า เพราะเป็นต้นไม้ประจำพระองค์ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ 10 วันนี้กระปุกดอทคอมจะพาทุกคนไปทำความรู้จัก ต้นรวงผึ้ง ต้นไม้ประจำรัชกาลที่ 10 ให้มากขึ้น ทั้งวิธีปลูกต้นรวงผึ้งไปจนถึงสรรพคุณต้นรวงผึ้ง แล้วจะรู้ว่าต้นไม้ไทยต้นนี้น่าปลูกมาก ๆ เลยล่ะค่ะ 

1. ความสำคัญ
 
          ต้นรวงผึ้ง ถือว่าเป็นพรรณไม้อันทรงคุณค่าและมีเกียรติชนิดหนึ่ง ที่ถูกยกให้เป็นพรรณไม้ประจำ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ 10 เนื่องจากดอกรวงผึ้งจะผลิดอกออกใบในช่วงวันพระบรมราชสมภพพอดี ส่วนสีเหลืองของดอกรวงผึ้งยังเป็นสีประจำวันพระบรมราชสมภพอีกด้วย นอกจากนี้พระองค์ยังทรงปลูกต้นรวงผึ้งไว้ตามสถานที่ต่าง ๆ ที่พระองค์เสด็จฯ ไปประกอบพระราชกรณียกิจ เพื่อพระราชทานไว้ให้เป็นตัวแทนแห่งพระองค์ท่านและเป็นสิริมงคลแก่ราษฎร
 
2. ลักษณะ
 
          โดยทั่วไปจะเรียกต้นไม้ชนิดนี้ว่า “ต้นรวงผึ้ง” แต่ถ้าหากได้ยินคนเรียก ต้นน้ำผึ้ง ต้นสายน้ำผึ้ง หรือดอกน้ำผึ้ง ก็ไม่ต้องสงสัยไป เพราะชื่อเหล่านี้เป็นชื่อเรียกของคนท้องถิ่นที่มักได้ยินกันบ่อยในแถบกรุงเทพฯ และภาคเหนือ ต้นรวงผึ้ง มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Yellow star และชื่อวิทยาศาสตร์คือ Schoutenia glomerata King subsp.peregrina (Craib) Roekm. 
          ต้นรวงผึ้งจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ทนแดดและชอบขึ้นในที่แล้ง ลำต้นแตกกิ่งต่ำ ลักษณะลำต้นเป็นทรงพุ่มมน ออกใบเดี่ยวเรียงสลับกัน ด้านหน้าใบจะเป็นเขียวและหลังใบเป็นสีน้ำตาลนวล ดอกรวงผึ้งส่งกลิ่นหอมตลอดทั้งวัน และมีสีเหลืองอร่ามดูโดดเด่น ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ ลักษณะดอกมีกลีบเลี้ยง 5 แฉกติดกับโคนกลีบและเป็นฐานรองกระจุกเกสรตัวผู้ ไม่มีกลีบดอก ดอกจะบานได้นาน 7-10 วัน ส่วนผลของต้นรวงผึ้งมีลักษณะเป็นทรงกลม ผลแห้ง และมีขน 
ต้นรวงผึ้ง
3. วิธีปลูกและวิธีการดูแล
 
          วิธีขยายพันธุ์ต้นรวงผึ้งที่นิยมมากที่สุดคือ การตอนกิ่ง ด้วยการควั่นกิ่งและลอกเปลือกออก จากนั้นนำดินเหนียวและกาบมะพร้าวชุบน้ำมาหุ้มแผลเอาไว้ ห่อด้วยแผ่นพลาสติกและมัดเชือกปิดมิด ดูแลรดน้ำตามปกติ อาจจะใช้ฮอร์โมนเร่งรากด้วยก็ได้ รอรากงอกออกมาภายใน 2-3 วัน จึงค่อยตัดไปปลูกลงในหลุมดินร่วน เพื่อให้ได้ผลดีแนะนำให้ปลูกในที่กลางแจ้ง เนื่องจากเป็นพืชที่ชอบแดดและทนแล้งได้ดี รดน้ำปานกลาง และปลูกไว้บริเวณแสงแดดส่องถึงตลอดทั้งวัน ต้นก็จะเจริญเติบโตออกดอกสวยงาม
 
4. ประโยชน์
 
          แม้จะไม่ใช่ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ แต่ก็ช่วยบังแดดและให้ร่มเงาได้ มีรูปลักษณ์และสีสันสวยงาม มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ เพื่อปรับบรรยากาศให้สดชื่น นอกจากนี้ยังเป็นไม้มงคลที่เหมาะจะนำมาปลูกประดับสวนภายในบ้านและตามสถานที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะบ้านที่มีคนธาตุไฟ ต้นรวงผึ้งก็จะช่วยเสริมความเป็นสิริมงคลให้มากยิ่งขึ้น
          
          หากใครที่กำลังมองหาไม้ยืนต้นหรือไม้ประดับเอาไว้จัดสวนอยู่ ก็ลองนำต้นไม้มงคลอย่างต้นรวงผึ้งไปพิจารณากันดูนะคะ รับรองได้เลยว่าทั้งรูปทรง กลิ่นหอม และความเป็นมงคลของต้นไม้ชนิดนี้ จะทำให้สวนของคุณดูพิเศษขึ้นมาทันที
ติดตามข่าว รัชกาลที่ 10 ทั้งหมด
ขอขอบคุณข้อมูลจาก royalparkrajapruekKu และ Thaitreeflowers

วิธีปลูกดาวเรืองขาย กำไรเป็นแสน!!



ปลูกดาวเรืองขาย กำไรเป็นแสน!!

วิธีปลูกดาวเรือง
1.เตรียมกระถางใส่ดินลงไป และรดน้ำให้ดินชุ่มชื่นทิ้งไว้ 1 คืน
2.นำต้นกล้าที่มีอายุ 7-10 วัน ( นับจากวันเพาะเมล็ด ) โดยแยกต้นกล้าให้มีวัสดุเพาะ หรือดินหุ้มติดรากมาด้วย เพื่อป้องกันรากกระทบกระเทือน นำมาปลูกในแต่ละหลุม แต่ละกระถาง ที่เตรียมไว้ รดน้ำให้ชุ่ม
3. รดน้ำดาวเรืองอย่างต่อเนื่อง  โดยสัปดาห์แรกควรรดน้ำเช้า – เย็น จากนั้น สัปดาห์ต่อไป รดน้ำเช้า หรือเย็นอย่างเดียวได้ค่ะ
4.เมื่อดาวเรืองอายุ 15 – 25 วัน ใส่ปุ๋ยลงไป และก็รอให้ต้นดาวเรืองออกดอก ก็สามารถตัดดอกไปใส่ในกระถางประดับบ้านให้สวยงามได้แล้วค่ะ
การปลูกต้นดาวเรืองนอกจากจะเสริมมงคลให้บ้านแล้ว ยังสามารถนำดอกมาประดับตกแต่งบ้านได้อีกด้วยนะคะ แถมได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ได้อีกด้วยค่ะ
ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก : https://decor.mthai.com/garden/21988.html

เลี้ยงปลาหมอ เชิงธุรกิจ 110 วัน รายได้งาม



เลี้ยงปลาหมอ เชิงธุรกิจ 110 วัน รายได้งาม
การเดินทางของทีมงานเริ่มต้นขึ้นอีกครั้ง เมื่อได้ทราบว่ายังมี การเลี้ยงปลาหมอ ทางภาคใต้เป็นจำนวนมาก ซึ่งได้ลูกพันธุ์ที่มีคุณภาพ จาก อำพรพันธุ์ปลา โดย คุณพีระพงค์ เจริญลาภ หรือ คุณพงค์ ที่เคยให้ ทีมงานนิตยสารสัตว์น้ำได้เข้าไปพบปะพูดคุยและเยี่ยมชมฟาร์มเพาะ เลี้ยงปลาหมอ ที่มีการพัฒนาสายพันธุ์ จ.สุราษฎร์ธานี มาแล้ว 15 ปี อัมพรพันธุ์ปลาวันนี้ลูกค้าของคุณพงค์ไม่เคยลดลงไป แถมจะมีแต่เพิ่มมากขึ้น แต่ก็ไม่สามารถผลิตตรงตามออร์เดอร์ที่ทุกคนสั่งได้ ซึ่งเขาพอใจกับกำลังการผลิตในตอนนี้อยู่แล้ว
ลักษณะบ่อเลี้ยงปลาหมอ
ลักษณะบ่อเลี้ยงปลาหมอ

เลี้ยงปลาหมอ

เลี้ยงปลาหมอ ต้องมีการเตรียมบ่อโดยมีการสาดปูนขาวแล้วใส่น้ำประมาน 30 เซนติเมตร แช่ไว้ 3-4 วันแล้วดูดออกและเติมน้ำบาดาลไปเรื่อยๆจนได้ 75 เซนติเมตร ก่อนปล่อยปลา 1 วันจะใช้ด่างทับทิม ครึ่งกิโลกรัม หรือหว่านเกลือ 60 กิโลกรัม ก่อนเพื่อฆ่าเชื้อ และเมื่อลงปลาได้ 1 วัน จะให้ อาหารอนุบาลปลาวัยอ่อน ปั้นเป็นก้อนโยนให้วันละ 3 มื้อ
หากอากาศร้อนให้จะไม่ให้เลย และเมื่อปลาครบ 2 เดือนจะมีการเติมน้ำในบ่อทุกวันโดยใช้ระบบน้ำล้น ในระหว่างการเลี้ยงจะมีการใส่ EM  หรือ กากน้ำตาลเสริมโดยที่นำมาคลุกกับอาหารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพต่อการย่อยอาหารและขยายลำไส้
และนอกจากนี้ยังให้วิตามินซีเสริมเพื่อให้ปลาลดความเครียด อาหารที่คลุกกับสารเสริมต่างๆจะใช้ของ บริษัท  ไทยลักซ์ เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งปลาหมอของอำพรฟาร์ม เป็นปลาหมอที่มีการแปลงเพศจะทำให้กินอาหารเก่ง ใช้ระยะเวลาใน เลี้ยงปลาหมอ 110 – 130 วัน ซึ่งจะใช้อาหารเพียง 500 กระสอบ กำไรจะมาก อัตราแลกเนื้ออยู่ที่ 1.5 – 1.6 ขนาดไม่จำเป็นต้องใหญ่ขอให้มีขนาดเสมอกัน แต่อาหาร บริษัท ไทยลักซ์ ฯ เลี้ยงแล้วสีสวย นวล เหมือนปลาธรรมชาติ เกร็ดแข็งทำให้ขั้นตอนในการขนส่งง่ายขึ้น ไม่บอบช้ำ เป็นสาเหตุหลัก ๆ ให้เกษตรกรหันมาใช้กัน
อาหารปลาหมอ-อาหารปลาดุก
อาหารปลาหมอ-อาหารปลาดุก

ปัญหาในการเลี้ยง

มรสุมประจำถิ่นของภาคใต้คือในช่วงเช้าแดดแรงและช่วงบ่ายมีฝนตก ซึ่งสภาพอากาศแบบนี้จะเป็นปัญหาหลักต่อระบบการย่อย หากอุณหภูมิมีการเปลี่ยนแปลงเร็วจะทำให้ปลาอ่อนแอ มีวิธีแก้ไขเพียงวิธีการเดียวคือการสังเกตและชะลอการให้อาหาร  ปัญหาที่ตามมาคือลมจัด ลมพัดแรงทำให้อาหารโดนพัดไปอยู่ริมตลิ่ง กินได้ไม่ทั่วถึง
แต่ปัญหาที่เกษตรกรผู้สนใจเลี้ยงปลาหมอ ทุกคนกังวลใจคือการปีนหนีของปลาหมอ ซึ่งปลาเมื่อมีการปรับปรุงสายพันธุ์หรือแปลงเพศแล้วจะไม่มีการปีนขึ้นขอบบ่อ เนื่องจากจะมีการเจริญพันธุ์ที่ช้าทำให้ปลาไม่ไข่ซึ่งหากปลาหมอเมื่อถึงวัยเจริญพันธุ์จะหยุดการเจริญเติบโตทันที สังเกตได้ง่าย ๆ  ปลาจะมีอัตราการกินอาหารลดลงแสดงว่าปลาจะไข่

ลี้ยงปลาหมอ ร่วม ปลาดุกอุย

กว่าทศวรรษที่ผ่านมา คุณสุรกิจ เลาวกุล เลี้ยงปลาหมออยู่ใน อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช จะ เลี้ยงปลาดุกอุย ร่วมกับ ปลาหมอ ในบ่อเดียวกัน  เพื่อเพิ่มรายได้ก่อนหน้าที่จะเข้ามาสู่ในวงการสัตว์น้ำคุณ   คุณสุรกิจ  ชีวิตที่ต้องย้ายถิ่นฐานจากจังหวัดพิจิตร มาทำงานที่โรงแรมชื่อดังแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานครและได้พบกับภรรยา ทำงานที่เดียวกันแต่มีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช แต่แล้วภรรยาได้ป่วย จึงอยากที่จะย้ายกลับมารักษาตัวที่บ้านเกิด และเมื่อย้ายกลับมาจึงมองหาอาชีพที่สามารถทำได้ซึ่งตอนนั้นสัตว์น้ำที่นิยมเลี้ยงมากที่สุดคือตะพาบน้ำส่งออกจีน มีความสนใจจึงไปศึกษามาจากจังหวัดสุพรรณบุรีและกลับมาเลี้ยง แต่แล้วกลับประสบปัญหาขายไม่ได้ทำให้ขาดทุนเป็นสาเหตุให้เลิกเลี้ยงไปในที่สุด แต่แล้วได้มีคนแนะนำให้ลองเลี้ยงปลาหมอในขณะที่บ่อว่างและยังไม่รู้จะทำอะไรต่อ และครั้งแรกที่เริ่มเลี้ยงยังไม่รู้แม้กระทั่งตลาดที่รับซื้อหรือคนจับ 
การเลี้ยงปลาหมอ
เลี้ยงปลาหมอ

การเลี้ยงปลาดุก อุยเสริมรายได้ในบ่อปลาหมอ

การเลี้ยงปลาดุกอุยร่วมกับปลาหมอถือเป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ โดยจะเลี้ยงปลาดุกอุยร่วมกับปลาหมอในบ่อเดียวกันเพื่อเพิ่มรายได้แต่ต้องมีวิธีการประหยัดต้นทุนโดยการนำปลาดุกอุยขนาดลูกตุ้มมาปล่อยลงบ่อก่อน 100,000 ตัว
อายุปลาประมาณ 1 เดือน ก็จะนำปลาหมอมาปล่อยอีก 40,000 ตัว ตามลงไปซึ่งจะได้จับพร้อมกัน แต่ในช่วงฤดูหนาวจะเลี้ยงยากเพราะอากาศเย็นปลาดุกอุยจะไม่ชอบจึงทำให้เลี้ยงยาก ปริมาณน้ำที่ใช้เลี้ยงปลาหมอและปลาดุกอุยร่วมกันจะอยู่ที่ 1.2-1.5 เมตร
ตลอดระยะเวลาการเลี้ยง หากพูดถึงการเตรียมบ่อก็จะใช้วิธีทั่วไป แต่จะมีการใช้โดโลไมท์ในการปรับสภาพน้ำหลังจากที่มีการเปลี่ยนถ่ายน้ำ และอาหารที่ให้นั้นช่วงแรกจะให้เป็นอาหารกุ้งซึ่งมีลักษณะเป็นเม็ดจม เพื่อให้ลูกปลาได้กินและเป็นการทำน้ำเขียวสร้างอาหารธรรมชาติไปในตัวด้วย

ฝนเดือนห้าฟ้าเดือนหก

ภายใน 1 ปี จะเลี้ยงปลาหมอได้ 3 รอบ ในช่วงฝนจะพบปัญหาในการเลี้ยงบ้างเล็กน้อยเมื่อปลามีขนาดที่ใหญ่แล้ว หากมีฝนตก ฟ้าผ่า ฟ้าร้อง หรือช่วงที่ชาวบ้านเรียกกันว่าฝนเดือนห้าฟ้าเดือนหก เป็นช่วงที่ฝนฟ้าคะนอง ก็เป็นสาเหตุทำให้ปลาตายได้ ปลาจะตกใจและพุ่งชนพื้นเลนในบ่อตาย
ในส่วนฤดูหนาวปลาจะกินอาหารน้อยแต่ในทางภาคใต้ฤดูหนาว ไม่ค่อยมีจึงไม่เกิดปัญหาในช่วงฤดูนี้ให้เห็นชัดอาจจะมีแค่สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงบางวันเท่านั้น แต่ในช่วงฤดูร้อนมักจะพบปัญหามากที่สุดเนื่องจากหากปลาไม่ได้รับการปรับพันธุ์หรือแปลงเพศในเดือนที่ 3 ของการเลี้ยงปลาจะเริ่มไข่ และกินอาหารลดลงกว่าปกติ ส่งผลให้หยุดการเจริญเติบโตและปลาจะมีลักษณะที่ผอม ยาว และทำให้เสียราคาตอนจับผลผลิต
ปลาหมอ-ที่เลี้ยงหนักเกือบครึ้งกิโลกรัม
ปลาหมอ-ที่เลี้ยงหนักเกือบครึ้งกิโลกรัม

“หัวเล็กตัวโต” … ปลาหมอ พันธุ์ใหม่โตเร็ว อัตรารอดสูง

การพัฒนาสายพันธุ์ต้องมีการพัฒนาอยู่แล้วเพราะกาลเวลาเปลี่ยน ปัจจัยต่างๆก็เปลี่ยนแปลงไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นด้านภูมิคุ้มกันที่มีต่อโรค อัตราการเจริญเติบโต และปัจจัยอื่น ๆ จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาสายพันธุ์เพื่อให้หนีห่างจากปัญหาที่เกษตรกรผู้เลี้ยงต้องพบเจอและเพื่อเป็นการพัฒนาวงการปลาหมอให้ก้าวหน้าขึ้นไป การพัฒนาสายพันธุ์ ในครั้งนี้
เริ่มต้นจากเดิมนั้น มีสายพันธุ์เป็นของตัวเองเมื่อปี  47 รวบรวมพ่อแม่พันธุ์ จากบ่อเลี้ยงธรรมชาติในพื้นที่ภาคใต้ และสมุทรสาคร เสร็จช่วงปี 49 โดยมีที่ปรึกษาเป็นอาจารย์จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งการปรับปรุงพันธุ์ผ่านมาหลายรุ่น
โดยในรุ่นล่าสุดมีพัฒนาสายพันธุ์โดยนำสายพันธุ์ชุมพรเข้ามาพัฒนาอีกครั้งเมื่อปี 55 ร่วมกับสายพันธุ์ปลาธรรมชาติของจังหวัดเพชรบุรี นครพนมและนครศรีธรรมราช  จนปัจจุบันออกมาเป็นลูกผสม โดยมีอัตรารอดสูง และอัตราการเจริญเติบโตที่ดีกว่าเดิม   ต้านทานโรคเพิ่มขึ้น รูปทรงของปลาหมอมีลักษณะรูปทรงที่หัวเล็กโครงร่างใหญ่ทรงสวย ซึ่งแพที่จับชอบมาก เ
พราะการจับปลาหมอหากจับแล้วจะเลี้ยงต่อไม่ได้ ปลาจะไม่กินอาหาร เมื่อผ่านไปหลายวันปลาจะผอมลง หากปลามีขนาดหัวที่ใหญ่จะทำให้ปลาหมอดูผอมไม่น่าซื้อขาย หากหัวเล็กและปลามีขนาดผอมลงไปก็จะมีขนาดที่พอดีกัน สามารถซื้อขายกันได้ตามปกติ สรุปข้อดีคือสามารถยืดระยะเวลาการซื้อขายสู่ผู้บริโภคได้มากขึ้นนั่นเอง
คัดเลือกลูกปลาหมอ
คัดเลือกลูกปลาหมอ

ผลิตกว่า 1 ล้านตัวต่อเดือน

การผลิตลูกปลาหมอให้มีคุณภาพและมีปริมาณที่มากเพื่อให้เพียงพอต่อตลาดนับว่ายาก ตลาดในตอนนี้มี 2 ที่หลักๆ คือ ภาคใต้นครศรีธรรมราชและภาคกลางโซนจังหวัดสุพรรณบุรีและนครปฐม สามารถกระจายลูกพันธุ์ปลาหมอได้แหล่งละประมาณ 500,000 ตัว และลูกพันธุ์ก่อนจะออกจากฟาร์มจะต้องผ่าน เช่น เช็คโรค เช็คปรสิต  โดยการใช้กล้องจุลทรรศน์ หากชุดไหนไม่ผ่านจะไม่จำหน่ายให้ลูกค้า

เดินตลาดจริงรูปแบบใหม่

ตลาดหากจะเดินไปข้างหน้าต้องศึกษาเรียนรู้วิธีการใหม่ๆ เพื่อที่จะให้ตลาดเดินได้แบบเต็มตัว ต้องลงพื้นที่คุยกับคนเลี้ยงและแพรับจับหรือแม้กระทั่งอาหาร ต้องเดินไปด้วยกันได้ทั้งหมด คนเลี้ยงจะต้องมีกำไร แพจะต้องมีปลาจับโดยที่จะจับมือกับแพปลาที่เป็นพันธมิตรกันมานาน ผู้ผลิตลูกปลามีที่ขาย อาหารจะต้องดีได้คุณภาพและมาตรฐาน จึงจะเป็นพาร์ทเนอร์กันแบบยั่งยืน
ที่กล่าวไปข้างต้นนั้นอาจจะดูเหมือนไม่มีน้ำหนักมากพอ ทีมงานสัตว์น้ำ ไปพบกับเกษตรกรผู้รับลูกพันธุ์ปลาหมอไปเลี้ยงอีก 2 ราย ที่เลี้ยงมานานกว่า 10 ปี ทั้ง 2 ท่านพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ปลาหมอมีรูปทรงใหญ่และมีอัตราการเจริญเติบโตที่ดีต้องขึ้นอยู่กับสายพันธุ์และอาหารเป็นหลัก หากสายพันธุ์มีคุณภาพ อาหารได้มาตรฐาน เลี้ยงปลาหมอให้มีการเจริญเติบโตที่ดีก็ไม่ใช่เรื่องยาก
อำพรพันธุ์ปลา-โดย-คุณพีระพงค์-เจริญลาภ-บริษัท-ไทยลักซ์-เอ็นเตอร์ไพรส์-จำกัด-มหาชน-
อำพรพันธุ์ปลา-โดย-คุณพีระพงค์-เจริญลาภ-บริษัท-ไทยลักซ์-เอ็นเตอร์ไพรส์-จำกัด-มหาชน-

คุณพินิจ  เชาว์ลิต เลี้ยงปลาหมอนานกว่า 14 ปี

เดิมทีที่แห่งนี้ คุณพินิจ  เชาว์ลิต เลี้ยงตะพาบน้ำในปี 40 แต่ขายยาก ขาดทุนจึงได้หันมาเลี้ยงปลาโดยเริ่มจากปลาช่อนแต่ใช้ระยะเวลาในการเลี้ยงนาน กำไรน้อย จึงหาปลาชนิดใหม่และได้มาพบกับปลาหมอและเลี้ยงมาจนถึงปัจจุบัน แรกเริ่มนั้นได้พันธุ์ปลาหมอมาจากพัทลุงและไม่ได้ใช้อาหารของบริษัทไทยลักซ์ ฯ
ซึ่งตอนนั้นลูกปลาที่ออกมามี 5 ขนาด และขนาดที่เฉลี่ยออกมาจะมีเพียงแค่ขนาดเล็กกับขนาดกลางตัวใหญ่จะมีน้อย ทำให้เลี้ยงแล้วไม่ได้กำไรเท่าที่ควร
และในขณะเดียวกันทางอำพรพันธุ์ปลามีการพัฒนาสายพันธุ์มาในระดับหนึ่งในช่วงแรกคือไม่มีการแปลงเพศ ใช้หลักการทางพันธุ์กรรมในการไขว้พ่อแม่พันธุ์กันและให้เป็นเพศเมียมากที่สุดเพราะหากเป็นเพศผู้ขนาดจะไม่ใหญ่ มีขนาดอยู่ที่ 2-3 นิ้ว
และมีการพัฒนาสายพันธุ์มาเรื่อยๆเนื่องจากยังมีเปอร์เซ็นต์ตัวผู้ในปริมาณที่มากอยู่ จึงได้เพิ่มในส่วนของการแปลงเพศขึ้นมา ปลาที่ออกมาถึงมีขนาดเสมอกัน และเปลี่ยนแหล่งมาเรื่อยๆ จนมาพบกับอำพรฟาร์ม หรือ คุณพงศ์ ได้อยู่กันยืนยาวมานานกว่า 10 ปี ด้วย การเลี้ยงปลาหมอ จำนวน 2 บ่อ โดยการใช้น้ำบาดาลในการเลี้ยง
คัดเลือกลูกพันธุ์คุณภาพ-ปลาหมอ
คัดเลือกลูกพันธุ์คุณภาพ-ปลาหมอ เลี้ยงปลาหมอ

คัดเลือกลูกพันธุ์คุณภาพ

ในระยะของการปรับปรุงสายพันธุ์รอบแรก บ่อขนาด 1 ไร่ จะมีอัตราการปล่อยมากกว่า 70,000 ตัว ใช้ระยะเวลาในการเลี้ยงปลาหมอ 4 เดือน 15 วัน ผลผลิตที่ได้ 13 ตัวต่อกิโลกรัม หากเป็นฟาร์มทั่วไปที่ยังไม่มีการปรับปรุงสายพันธุ์ ปลาคัดและปลาเล็กจะมีปริมาณมากหากมีการปรับปรุงสายพันธุ์ที่ชัดเจนปลาจะมีขนาดใหญ่เสมอกันและจะทำให้มีกำไรในการเลี้ยง
และเนื่องจากสายพันธุ์ดี โตไว อัตรารอดสูง ทำให้ต้องลดอัตราการปล่อยให้บางลงเหลือเพียง 45,000 ตัวต่อไร่ เท่านั้น แต่เมื่อจับมาผลผลิตเกินคาด ทำให้มีผลผลิตโดยเฉลี่ยถึง 3 ตัวต่อกิโลกรัม ปริมาณกว่า 14.2 ตัน ปกติแล้วช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายนจะไม่ลงปลากันเนื่องจากปลาจะไม่โตเพราะสภาพอากาศที่ร้อนแต่หากเป็นปลาหมอที่ผ่านการแปลงเพศและพัฒนาสายพันธุ์สามารถที่จะปล่อยลงเลี้ยงได้
ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก : https://goo.gl/iFsYg2

ทุเรียนลูกอีสาน อร่อยดี กำลังนิยม




ทุเรียนลูกอีสาน อร่อยดี กำลังนิยม

ทุเรียนศรีสะเกษ ความภาคภูมิใจของจังหวัดศรีสะเกษ
       “ทุเรียน” ผลไม้ที่มีเอกลักษณ์ด้วยเปลือกที่เป็นหนามแหลมสะดุดตา มีกลิ่นฉุนเฉพาะโดดเด่น มีเนื้อในที่แน่นนุ่มและรสชาติเป็นที่ชื่นชอบ จนได้ฉายาว่า “ราชาแห่งผลไม้” มีหลากหลายสายพันธ์ แต่ที่นิยมปลูกในประเทศไทย ก็คือ หมอนทอง ชะนี ก้านยาว ที่มักจะออกผลผลิตตั้งแต่ช่วง เมษายน-พฤษภาคม หรือมีเหลือประปรายจนถึงเดือนกรกฎาคม เป็นที่รู้ว่า จะปลูกกันมากทางภาคตะวันออก เช่น จันทบุรี ระยอง ตราด และสามารถปลูกได้ในอีกหลายๆจังหวัด
       
       จังหวัดศรีสะเกษถือเป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่มีความโดดเด่นด้านทุเรียนไม่น้อย โดยปัจจุบันทุเรียนศรีสะเกษ กำลังเป็นที่แพร่หลายและได้รับความนิยม ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าทุเรียนแต่ละสายพันธ์นั้นก็จะมีความโดนเด่นและมีเอกลักษณ์ของผลและรสชาติที่แตกต่างกันออกไป ขณะที่พื้นที่ที่ใช้ในการปลูกนั้นก็ยังเป็นอีกปัจจัย ที่จะทำให้ทุเรียนนั้นมีความโดนเด่นเฉพาะในพื้นที่ปลูกนั้นๆ
        
       สำหรับทุเรียนศรีสะเกษจะมีความโดดเด่นในด้านไหน ผู้ที่จะอธิบายได้ดีคงเป็นคนที่คลุกคลีกับการปลูกทุเรียน 
ทุเรียนลูกอีสาน อร่อยดี กำลังนิยม
คุณทศพล สุวะจันทร์ เคียงคู่ ทุเรียนศรีสะเกษ
        นายทศพล สุวะจันทร์ เจ้าของ"สวนคุณทศพล" ประธานชมรมผลไม้ ต.ตระกาล ที่ตั้งอยู่ที่ ต.ตระกาล อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ เป็นอีกผู้หนึ่งที่ริเริ่มการปลูกทุเรียนเป็นเจ้าแรกๆ ที่จังหวัดศรีสะเกษ นายทศพล กล่าวว่าก่อนที่จะริเริ่มการปลูกไม้ผลนั้นได้ทำการเพราะปลูกพืชไร่มาก่อน แต่ผลผลิตก็ได้ไม่ดีเท่าทีควรเพราะเป็นพืชล้มลุก จึงได้หันมาเริ่มปลูกพืชสวนเริ่มแรกเป็นทุเรียนและเงาะทีได้พันธ์มาจาก การไปศึกษาดูงานที่ปราจีนและจันทบุรี หลังจากที่เฝ้าประคบประหงมมานานตั้งแต่ปี 2534 ทั้งเงาะและทุเรียนก็เริ่มให้ผลผลิตออกสู่ตลาด แต่ผลผลิตก็ยังไม่เป็นที่น่าเชื่อถือเท่าใดนัก 
ทุเรียนลูกอีสาน อร่อยดี กำลังนิยม
วิธีการปอกเปลือกทุเรียน
        เพื่อเป็นการยืนยันปี 2536 ทางจังหวัดจึงได้จัด “เทศกาลผลไม้เงาะทุเรียนจังหวัดศรีสะเกษ” ขึ้นเป็นครั้งแรก ณ ที่ว่าการอำเภอกันทรลักษ์ จากนั้นมาจนถึงวันนี้ นับรวมเป็นเวลา 19 ปีแล้ว ที่จังหวัดศรีสะเกษมีเงาะและทุเรียนที่ปลูกเองออกมาจำหน่าย รวมถึงผลไม้อื่นๆ อาทิ ลองกอง มังคุด นับแต่นั้นมาความขึ้นชื่อของทุเรียนศรีสะเกษ ก็เป็นที่บอกกล่าวต่อต่อกันมา จนได้รับความนิยมและเป็นที่แพร่หลายในปัจจุบัน 
ทุเรียนลูกอีสาน อร่อยดี กำลังนิยม
ผลผลิตกำลังออกเต็มต้น ในช่วงรุ่นสุดท้ายของปี
        นายทศพล กล่าวต่อว่า การเป็นที่ขึ้นชื่อนั้นก็มาจากความชอบของผู้ที่ได้มาลิ้มลองกินทุเรียนของศรีสะเกษ และพอติดใจก็เป็นการบอกกล่าวปากต่อปาก จนกลายมาเป็นที่ชื่นชอบและได้รับความนิยมจนถึงปัจจุบัน แต่ก็ด้วยความเป็นเอกลักษณ์ของทุเรียนที่ปลูกในพื้นที่ด้วย เพราะถึงจะเป็นสายพันธ์ที่ได้มาจากจังหวัดจันทบุรี แต่เนื่องจากพื้นที่ในการปลูก ด้วยสภาพแวดล้อมของจังหวัดศรีสะเกษนี้ เป็นพื้นที่ดินภูเขาไฟเก่า มีภูมิอากาศแห้งของที่ราบสูง ไม่เหมือนทางจันทบุรีที่มีฝนตกชุก ถึงจะเป็นพันธ์เดียวกันแต่ผลผลิตที่ได้ก็จะแตกต่างกัน ตามแต่ละพื้นที่ที่ปลูก เพราะสภาพดินฟ้าอากาศเป็นปัจจัยในการออกดอกออกผล 
ทุเรียนลูกอีสาน อร่อยดี กำลังนิยม
เนื้อนุ่มกรอบ รสชาติดี ไม่แฉะติดมือ มีพูสวยงาม เอกลักษณ์ที่ได้รับความนิยม
        นายทศพล กล่าวเสริมว่า “ความเป็น เอกลักษณ์จนเป็นที่รู้จัก อย่างกว้างขวางของทุเรียนศรีสะเกษ นั้นมาจาก การมีเนื้อที่นุ่ม กรอบ รสชาติดี ไม่แฉะติดมือ และมีพูที่สวยงาม” และยังมีเคล็ดลับเสริมว่า “หากใครกินทุเรียนแล้วกลัวกลิ่นติดปาก โบราณว่าให้เอาน้ำเปล่า ใส่เปลือกทุเรียนแล้วกินตาม จะทำให้ดับกลิ่นได้ เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่บอกต่อกันมา” 
ทุเรียนลูกอีสาน อร่อยดี กำลังนิยม
บรรยากาศภายในสวนคุณทศพล
        สำหรับผลผลิตของทางจังหวัดศรีสะเกษนั้น ส่วนใหญ่ 90 เปอร์เซ็นจะเป็นพันธ์หมอนทอง เพราะเป็นที่ได้รับความนิยม จากทางประเทศจีน ไต้หวัน ซึ่งได้กลายเป็นผลไม้ส่งออก ส่วนรองลงมาจะเป็นพันธ์ ชะนีและก้านยาว ทุเรียนศรีสะเกษจะมีผลผลิต ที่ไม่ตรงกับทางจังหวัดทางภาคตะวันออก โดยผลผลิตของทางจังหวัดศรีสะเกษจะออกสู่ตลาดประมาณกลางเดือนมิถุนายน ซึ่งส่วนใหญ่ผลผลิตของจังหวัดอื่นๆ จะออกตั้งแต่เดือนเมษายนและหมดประมาณเดือนพฤษภาคม แต่ผลผลิตในแต่ละปีก็จะออกแตกต่างกัน ซึ่งในปีนี้ผลผลิตมีน้อยเพราะอากาศแล้ง ผลผลิตน้อย ในช่วงนี้ก็จะมีเหลือบ้างประปราย หากใครคิดจะลองลิ้มชิมรสแล้ว ก็คงต้องรีบกันหน่อย แต่ถ้าหากพลาดจากปีนี้ ปีหน้าก็ยังมีให้ได้ลิ้มลองกันอีก

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก http://www.manager.co.th/travel/viewnews.aspx?NewsID=9550000082523

โอ้แม่เจ้า ใบมันสำปะหลัง ราคาดี มีค่าอย่าทิ้ง ตันล่ะ 6,000 บาท



ใบมันสำปะหลัง ประโยชน์ได้ที่มหาศาล ทำปุ๋ยอินทรีย์ หรือเก็บขายโรงงานอาหารสัตว์ ได้ราคาสูงมันสำปะหลังเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญที่เกษตรกรนิยมปลูก 

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคอีสาน เนื่องจากเป็นพืชที่ปลูกง่าย ทนแล้ง สามารถเก็บเกี่ยวได้ตั้งแต่อายุ 8 เดือนขึ้นไป และหากเกษตรกรไม่พอใจราคามันสำปะหลังก็สามารถรอการเก็บเกี่ยวได้ถึง 2 ปี การปลูกมันสำปะหลังในประเทศไทยมีมานานหลายสิบปี พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังค่อนข้างแปรปรวนขึ้นอยู่กับราคาที่เกษตรกรขายได้ โดยในปี 2559 พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังทั้งประเทศ 7 ล้านไร่ ผลผลิตหัวมันสด 20.5 ล้านตัส่วนที่อยู่เหนือดินของมันสำปะหลัง นอกจากต้นมันแล้วยังมีใบมันสำปะหลัง ซึ่งในพื้นที่ 1 ไร่ ของการเก็บเกี่ยวจะมีใบมันสดคิดเป็นน้ำหนักประมาณ 660-700 กิโลกรัม โดยใบมันสดมีโปรตีนอยู่ 6% และยังมีไซยาไนต์ในปริมาณสูง แต่การผึ่งแดด 2-3 แดด หรืออบแห้งจะช่วยลดปริมาณไซยาไนต์จนอยู่ในระดับที่ปลอดภัยต่อการนำไปใช้เป็นอาหารสัตว์ได้ นอกจากนี้ใบมันยังเป็นแหล่งสารสีหรือสารแซนโทฟิลล์อีกด้วย เมื่อเทียบคุณค่าทางโภชนาการของใบมันแห้งและใบกระถินแห้ง จะมีคุณค่าใกล้เคียงกันโดยมีโปรตีนสูงถึง การเก็บเกี่ยวใบมัน สามารถเก็บทั้งใบและก้าน รวมถึงส่วนยอดของลำต้นความยาวประมาณ 20-50 เซนติเมตร โดยสามารถเก็บใบมันได้เมื่อต้นมันมีอายุ 6 เดือนขึ้นไป ซึ่งในการเก็บใบมันเกษตรกรทยอยเก็บครั้งละ 10-15 ใบต่อต้น จะไม่กระทบต่อผลผลิตหัวมัน และหลังจากนั้นเก็บอีกครั้งในช่วงขุดหัวมัน การเก็บเกี่ยวใบมันใช้แรงงานและเวลาไม่มาก และหากเกษตรกรมีการจัดช่วงระยะเวลาการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมก็จะสามารถใช้แรงงานในครอบครัวได้อย่างเหมาะสมและสร้างรายได้เสริมให้แก่เกษตรกรได้ดีการผลิตใบมันสำปะหลังแห้งเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์

(1) เก็บใบมันสำปะหลัง ควรเก็บใบมันสำปะหลังจากต้นก่อน ทำการเก็บเกี่ยวหัวมัน เนื่องจากการเก็บใบมันสำปะหลังหลังการเกี่ยว แล้วนั้น อาจทำได้ไม่สะดวก และไม่สามารถเก็บใบมันสำปะหลังใน แปลงได้หมด แต่ควรเก็บใบมันก่อนการขุดหัวมันไม่เกิน 12– 24 ชั่วโมง เพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อเปอร์เซ็นต์แป้งในหัวมันสำปะหลัง
(2) การเก็บใบมันนั้นควรเด็ดจากส่วนยอดบริเวณที่มีสีเขียว ยาวลงมาประมาณ 20 เซนติเมตร ส่วนที่เหลือเด็ดเฉพาะใบกับก้าน ใบเท่านั้น ไม่ควรเก็บส่วนของลำต้นติดมาด้วย เนื่องจากจะทำให้ใบมันสำปะหลังที่ได้มีคุณภาพต่ำ คือโปรตีนต่ำ เยื่อใยสูง และส่วน ก้านกับลำต้นยังทำให้แห้งได้ช้าอีกด้วย
(3) เมื่อเก็บใบมันมาแล้วควร ตาก / ผึ่งแดดให้เร็วที่สุด เนื่องจากการเก็บไว้ในกระสอบหรือกองไว้ ทำให้เกิดความร้อนขึ้น ส่งผลให้ใบมันสำปะหลังมีลักษณะตายนึ่ง ใบมันสำปะหลังที่ได้เป็นสีน้ำตาล ไม่เป็นสีเขียว ไม่น่าใช้ อีกทั้งทำให้มีการสูญเสีย ไวตามินเอและสารสีในใบมันไปด้วย
(4) นำใบมันสำปะหลังที่เก็บได้มาตาก / ผึ่งแดด ให้แห้ง โดยอาจสับเป็นชิ้น ซึ่งจะทำให้ตากแห้งเร็วขึ้น ระหว่างการตาก ควรกลับใบมันสำปะหลังไปมาเป็นระยะ ๆ เพื่อให้ส่วนใบและก้าน แห้งได้ทั่วถึง โดยตาก / ผึ่งแดด นาน 2 – 3 แดด ซึ่งใบมันแห้งที่ ได้นี้สามารถนำไปใช้เป็นวัตถุดิบอาหารโค – กระบือ 



ได้ทันทีโดยไม่ต้องทำการบดสำหรับในสัตว์กระเพาะเดี่ยวพวกสุกรและสัตว์ปีกต้องนำไปบดให้ละเอียดก่อนนำไปใช้ผสมกับวัตถุดิบชนิดอื่น.... 
สำหรับคุณค่าทางโภชนะของใบมันสำปะหลังจะผันแปรตามปริมาณส่วนใบกับก้าน และลำต้นที่ติดมา ถ้ามีส่วนใบมากโปรตีนก็จะสูง โดยคุณค่าทางโภชนะของใบมันสำปะหลังแห้ง แม้ว่าใบมันสำปะหลังจะมีสารพิษสำคัญ 2 ชนิด 
คือกรดไฮโดรไซยานิคและสารแทนนิน 
แต่ในใบมันแห้งจะมีกรดไฮโดรไซยานิคเหลืออยู่ในระดับต่ำมากไม่เกิน 30 ส่วนในล้านส่วน (ppm) เช่นเดียวกับในมันเส้นที่สารพิษระเหยออกไประหว่างผึ่งแดด จนเหลือในระดับที่ไม่เป็นอันตรายสำหรับสัตว์ และกรดไฮโดรไซยานิคในระดับต่ำดังกล่าวนี้กลับช่วยกระตุ้นให้เกิดระบบที่ทำให้สัตว์มีความต้านทานโรคเพิ่มขึ้นด้วย ส่วนปริมาณแทนนินที่มีอยู่ในระดับต่ำ 14.79 มิลลิกรัม/กก. ก็มีประโยชน์สามารถควบคุมพยาธิในตัวสัตว์ได้ด้วยนอกจากนี้ใบมันสำปะหลังแห้งยังสามารถใช้เป็นแหล่งของไวตามินเอ (แคโรทีน) และสารสีแซนโทฟิลล์ให้กับสัตว์โดยมีปริมาณสูงกว่า คือประมาณ 660 มก. / กก. เทียบกับ 318 มก. / กก. ที่มีอยู่ในใบกระถิน........ข้อจำกัดในการใช้ใบมันสำปะหลังคือระดับเยื่อใยหรือความฟ่าม จึงแนะนำให้ใช้ในสูตรอาหารสุกรรุ่น-ขุน และแม่พันธุ์ในระดับไม่เกิน 10-15 เปอร์เซ็นต์ อาหารสัตว์ปีกไม่เกิน 5-7 เปอร์เซ็นต์ อาหารผสมรวม (TMR) สำหรับโค-กระบือ 10-20 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นระดับที่จะไม่มีปัญหาจากสารพิษทั้งสองชนิดดังกล่าวข้างต้น แม้ว่าที่ผ่านมาเกษตรกรบางรายจะมีการใช้ใบมันสำปะหลังเพื่อเลี้ยงสัตว์ เช่น เลี้ยงโคบ้างก็ตาม แต่ปัจจุบันมีการค้าใบมันสำปะหลังบ้างแล้ว ทั้งนี้ จากการสอบถามผู้ประกอบการในจังหวัดกาญจนบุรีพบว่า ลานมันได้รับซื้อใบมันสดและใบมันแห้งจากเกษตรกรและจำหน่ายให้แก่ผู้เลี้ยงสัตว์ในรูปใบมันแห้งและใบมันหมัก"โดยราคารับซื้อใบมันสดตันละ 700 บาท และใบมันแห้งสูงถึงตันละ 4,000 บาท โดยนำใบสดมาตาก 2-3 แดด ให้ความชื้นเหลือประมาณ 8-10% แล้วบดเป็นชิ้นเล็กๆ รอจำหน่ายหรือนำใบสดมาตัดเป็นชิ้นเล็กๆ หมักร่วมกับกากแป้งในถุงพลาสติกปิดปากแน่น เป็นเวลา 15 วัน สามารถลดปริมาณไซยาไนต์ได้กว่าร้อยละ 90 ราคาจำหน่ายใบมันแห้งบดสูงถึงตันละ 6,000 บาท และราคาใบมันหมักตันละ 2,000 บาท ซึ่งสามารถใช้ในสูตรอาหารสัตว์ได้ประมาณ 5% สำหรับสถานที่รับซื้อนั้น ปัจจุบันพบว่ามีพ่อค้าประกาศรับซื้อทางสื่อออนไลน์ทั้งเฟสบุ้คและโซเชียลต่างๆเป็นจำนวนมาก จึงถือเป็นทางเลือกในการสร้างรายได้ใหม่ให้กับเกษตรกรชาวไร่มันสำปะหลังของไทย%